วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 11 การใช้งาน online bookmarking

1. delicious คืออะไร

                เป็นเว็บไซต์สำหรับเก็บเว็บบุกมาร์ก เชื่อมยังกันในลักษณะเครือข่ายสังคมที่ได้รับความนิยมสูง เปิดบริการสิ้นปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) พัฒนาระบบโดยโจชัว สแคชเทอร์ (Joshua Schachter) บริษัทยาฮู!ได้ซื้อดิลิเชียสในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2548  มีลักษณะ คือ ใช้สามารถเก็บบุกมาร์กไว้บนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ไหนก็ได้ แตกต่างจากการเก็บบุกมาร์กธรรมดาที่เรียกใช้ได้เฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ คุณสมบัติเด่นที่แตกต่างจากเว็บบุกมาร์กทั่วไปคือ มีการเชื่อมโยงรายชื่อบุกมาร์กเข้ากับบุกมาร์กของผู้ใช้รายอื่น ซึ่งทำให้รู้ว่าเว็บนั้นมีผู้ใช้กี่คนที่ได้ทำบุกมาร์กไว้ การทำงานของระบบจะสร้างจาวาสคริปต์ไว้ที่แถบบุกมาร์กของผู้ใช้ และเมื่อผู้ใช้ต้องการบันทึกหรือเรียกใช้บุกมาร์ก เพียงแค่กดปุ่มนั้นและบุกมาร์จะถูกเซฟอัตโนมัติเข้าสู่อินเทอร์เน็ต คุณสมบัติอื่นของดีลิเชียส คือความสามารถในการแท็กแต่ละบุกมาร์กเพื่อเป็นการจัดหมวดหมู่อัตโนมัติ และความสามารถในการฟีด ส่งข้อมูลบุกมาร์กล่าสุดเข้าสู่แหล่งข้อมูลอื่นเพื่อดูได้ว่าเว็บไหนกำลังเป็นที่นิยมที่มีผู้ใช้บันทึกมากที่สุด

2. ข้อดีของ delicious
   1. ใช้งานฟรีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
   2. ผู้พัฒนาโปรแกรมที่ต้องการพัฒนาต่อสามารถดาวน์โหลดAPIได้

3. delicious มีประโยชน์ต่อตัวเองหรือสังคมอย่างไร
             bookmark จะใช้งานได้ที่ไหนๆ ก็ได้ในโลก ทุกๆที่ที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต  สามารถจัดการกับ bookmarks ผ่านทาง Tags ซึ่งมันทำให้ง่ายต่อการค้นหาในภายหลัง ตัวอย่างเช่น ถ้าเกิดว่ามีความสนใจ เกี่ยวกับเรื่องกล้องดิจิตอล ค้นหาและรวบรวมเว็บไซต์ที่กี่ยวกับกล้องดิจิตอลก็ทำ Tag สำหรับเรื่องเกี่ยวกับดิจิตอลไว้ เวลาจะค้นหาภายหลังก็สามารถทำให้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ก็สามารถใช้ Tag ที่คุณได้ทำเก็บไว้ทาง online ได้

4. ขั้นตอนการ add bookmarks โดยสังเขป
   1.คลิกที่Bookmarks เลือก My bookmarks
    2.เลือกปุ่ม Save a new bookmark
    3.กรอกURL ที่ต้องการจะจัดเก็บ
    4.จากนั้นคลิก Next และทำการกรอกข้อมูลที่ต้องการจะบันทึก

 
5. คำนิยามของคำว่า "Folksonomy"
              อนุกรมวิธานที่ผู้ใช้สร้างขึ้นเอง ซึ่งใช้ในการแบ่งหมวดหมู่และค้นคืน หน้าเว็บ รูปภาพ ตัวเชื่อมโยงเว็บ และ เนื้อหาบนเว็บอื่นๆ โดยใช้กินติดป้ายที่ไม่จำกัดข้อความ

www.savenkeep.com www.savenkeep.com
Bookmark and share your favorite websites - social bookmarking - Save n' Keep
Pagerank: 2
Hosting: Register.it S.p.A.
IP Address: 81.88.48.82

More information...
www.onlinesocialbookmarking.com www.onlinesocialbookmarking.com

Pagerank: 2
Hosting: Codero
IP Address: 64.150.176.109

More information...
www.topbookmarkingsites.info www.topbookmarkingsites.info
Top Bookmarking Sites | Social Bookmarking Sites List | Social Bookmarking Top Sites
Pagerank: 1
Hosting: Sites at same IP: cloudytags.info
IP Address: 69.64.85.53

More information...
www.gnolia.com www.gnolia.com

Pagerank: 6
Hosting: SBC Internet Services
IP Address: 173.236.174.230

More information...
www.internetente.de www.internetente.de

Pagerank: 2
Hosting: Lambdanet Communications Deutschland AG
IP Address: 82.197.146.14

More information...
www.aireal.de www.aireal.de
AirReal - Social Bookmarking - Online Favoriten und Bookmarks online verwalten
Pagerank: 2
Hosting: Hetzner Online AG
IP Address: 78.47.55.55

More information...
www.diggma.com www.diggma.com
DIGGMA.COM โปรโมทเว็บ - โปรโมทเว็บไซต์ฟรี DoFollow 100% - โปรโมทเว็บฟรี ส่งเรื่องดี ๆ พร้อมเก็บเรื่องเด่น ๆ แลกเปลี่ยนให้คนอื่นได้อ่าน โหวตให้ีคะแนนเรื่องที่คุณชอบ
Pagerank: 4
Hosting: CAT Telecom public company Ltd
IP Address: 183.90.169.41

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 10 การใช้งาน Blogger

เราจะได้ศึกษาถึงวิธีการใช้งานเว็บบล็อกกัน ว่าวิธีการเพิ่มเนื้อหารายละเอียดเขาทำกันอย่างไร?
เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาในการมุ่งหน้าหาเงินออนไลน์ ดังที่กระผมการันตรีว่า ภายใน 9 วันต้องเห็นผลให้ได้
จาก Step ที่แล้วได้สร้างเว็บบล็อกเอาไว้ถึงขึ้นตอน บล็อกของคุณถูกสร้างแล้ว (ด้านล่าง)

จาก นั้นให้เราคลิกที่ เริ่มต้นส่งบทความจะปรากฎหน้าต่างด้านล่าง ซึ่งจะให้เราใส่ข้อความ บทความ รูปภาพ ตามความต้องการโดยการคลิกที่ สร้าง
-ชื่อเรื่อง (คือหัวข้อเรื่องที่เราต้องการ)
-และมีพื้นที่สำหรับการใส่ข้อความ, รูปภาพเป็นต้น


อย่าลืมว่า การทำเวบ blogger ในการสมัคร Adsense ควรเป็นเวบที่มีเนื้อหาภาษาอักฤษเท่านั้นจึงจะสามารถสมัคร Adsense ผ่าน

บทที่ 9 ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social Software )

ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social Software )ซอฟต์แวร์ เพื่อสังคม คือซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้คนสามารถนัดพบปะเชื่อมสัมพันธ์หรือทำงานร่วมกันโดย มีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง เกิดเป็นสังคมหรือชุมชนออนไลน์
คำนี้มีความ หมายมากกว่าสื่อเก่า ๆ อย่าง Mailing List และ UseNet กล่าวคือหมายรวมถึง E-mail , msn , instant messaging , web , blog และ wiki ซอฟต์แวร์ที่มีลักษณะเพื่อการทำงานร่วมกันเรียกว่า Collaborative Software.
ใน การศึกษาซอฟต์แวร์เพื่อสังคมนั้น เราต้องทำความเข้าใจกับคำว่า “ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม” ก่อน ส่วนการจำแนกกลุ่มของซอฟต์แวร์เพื่อสังคมนั้น ในตอนนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
1. กลุ่มที่ใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต
2. กลุ่มที่ใช้ประโยชน์ในการจัดการความรู้
เครื่องมือที่จัดว่าเป็นซอฟต์แวร์เพื่อสังคมมีลักษณะการใช้ประโยชน์ร่วมกันในสังคมมนุษย์
เช่น การติดต่อสื่อสาร การแบ่งปันความรู้ การจัดการความรู้ เป็นต้น

เป็นที่น่าสังเกตว่าซอฟต์แวร์บางประเภทเริ่มพัฒนาจากระดับล่างขึ้นบน ซึ่งสมาชิกเป็นอาสาสมัครและชื่อเสียงของซอฟต์แวร์ก็เติบโตมาจากความเชื่อถือ ของสมาชิก โดยมีจุดมุ่งหมายและแนวทางปฏิบัติตามอย่างที่สมาชิกในกลุ่มต้องการ ในทางตรงกันข้ามบางซอฟต์แวร์เติบโตจากบนลงล่างโดยให้บทบาทผู้ใช้เป็นบุคคล ภายนอกที่ต้องได้รับสิทธิก่อนการเข้าใช้ซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์สังคมนี้ เกิดมาจากการร่วมมือกันระหว่างโปรแกรมเมอร์และกลุ่มคนทางสังคมที่ให้ความ สนใจในประเด็นที่ต่างออกไปจากซอฟต์แวร์โดยทั่วไปดังเช่น โปรแกรมตารางคำนวณ โปรแกรมการจัดการฐานข้อมูล โปรแกรมบัญชี โปรแกรมการลงทะเบียน เป็นต้น

บทที่ 8 โปรแกรมประยุกต์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


1. โปรแกรมประยุกต์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โปรแกรมประยุกต์หลายชนิดมีการทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ใน
เครือข่าย โดยอาศัยเครือข่ายเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันและกัน การทำงานของโปรแกรม
ประยุกต์เหล่านี้มีลักษณะโครงสร้างการทำงานที่คล้ายกันและมีชื่อเรียกเฉพาะว่ามีสถาปัตยกรรมแบบ
Client/Server


2. บริการเวิลด์ไวด์เว็บ
WWW (World Wide Web) รู้จักกันดีในชื่อเครือข่ายใยแมงมุม เป็นบริการในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีผู้ใช้กันมากที่สุด
ในปัจจุบัน บริการเวิลด์ไวด์เว็บเป็นสถาปัตยกรรมโครงข่ายสำหรับเชื่อมโยงเอกสารที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
จำนวนมากในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อให้สามารถสืบค้นได้ง่ายโดยมีการทำงานในลักษณะผู้ขอใช้บริการ-ผู้ให้บริการ
(Client/Server) บริการเวิลด์ไวด์เว็บเกิดขึ้นครั้งแรกในปีค.ศ. 1989 โดย Tim Berners-Lee เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัย European
Particle Physics (CERN) ในเจนิวา ตอนแรก Tim ต้องการพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เก็บข้อมูลงานวิจัยในด้านฟิสิกส์ แต่
พบว่าข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บไม่เหมาะกับการจัดเก็บลงฐานข้อมูลแบบเดิมที่มีใช้งานอยู่ในขณะนั้น Tim จึงได้หันมาใช้
วิธีการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลแบบ Hypertext (Hypertext Network of Information) ซึ่งทำให้เอกสารต่างๆที่มีอยู่สามารถ
เชื่อมโยงถึงกันได้


3. โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail)
โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นบริการรับส่งจดหมายผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น เครือข่าย
อินเทอร์เน็ตซึ่งให้บริการได้สะดวกและรวดเร็วกว่าการใช้บริการไปรษณีย์ธรรมดามาก สามารถรับส่งข่าวสารได้
ทั้งแบบตัวอักษร ภาพ และเสียง ทำให้การติดต่อสื่อสารไม่มีขีดจำกัด และเป็นระบบที่ได้รับความนิยมในการใช้
บริการสูงในเครือข่ายปัจจุบัน


4. โปรแกรม SSH (Secure Shell)
SSH เป็นโปรแกรมประยุกต์ในกลุ่มที่เรียกว่า Virtual Terminal ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถ
จำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ของตน เรียกว่า Local host เป็นแป้นพิมพ์และจอภาพเสมือนของเครื่องคอมพิวเตอร์อีก
เครื่องหนึ่งที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน เรียกว่า Remote host เพื่อใช้งานโปรแกรม ข้อมูล หรือทรัพยากรอื่นในเครื่อง
คอมพิวเตอร์นั้นได้ โดยผู้ใช้จะมีความรู้สึกเสมือนหนึ่งได้ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นโดยตรง การทำงานของ
Virtual Terminal เป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างโปรแกรมผู้ขอใช้บริการ SSH บนเครื่อง Local host และโปรแกรมผู้
ให้บริการ SSH บนเครื่อง Remote host


5 คุณลักษณะของ SSH Secure File Transfer
โปรแกรม SSH Secure File Transfer เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่

บที่ 7 การเชื่อมต่อทาง ซอฟแวร์


การเชื่อมต่อทางซอฟต์แวร์
Logical Connection
มื่อทำการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายทางกายภาพ แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจะยังไม่สามารถติดต่อกันได้ จนกว่าจะเชื่อมต่อทางซอฟต์แวร์เสียก่อน
การเชื่อมต่อทางซอฟต์แวร์นั้นสามารถทำได้โดย ทำการติดตั้งซอฟต์แวร์สำหรับสื่อสารข้อมูล ซึ่งทำหน้าที่กำหนดรูปแบบ และวิธีการในการสื่อสารข้อมูลเรียกว่า โพรโตคอล(Protocol)
เครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องจะสามารถติดต่อกันได้ ก็ต่อเมื่อใช้ โพรโตคอลชุดเดียวกันเท่านั้น
เช่น ชุดของ TCP/IP จะใช้ได้เฉพาะกับเครื่องที่ใช้ TCP/IP  ด้วยกันเท่านั้น หรือ IPX/NetBUEI ก็ในทำนองเดียวกันเมื่อดำเนินการเชื่อมต่อในระดับซอฟต์แวร์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะสามารถใช้งานโปรแกรมประยุกต์ สำหรับเครือข่ายได้
โดยโปรแกรมประยุกต์สำหรับเครือข่าย (Network Application) เป็นโปรแกรมที่สามารถสร้างการติดต่อจากผู้ขอใช้บริการ (Client) ไปยังโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ (Server)
สถาปัตยกรรมนี้เรียกว่า Client/Server
เครือข่ายอินเตอร์เน็ท
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ชุดโพรโตคอล TCP/IP เป็นมาตรฐานในการสื่อสารTCP (Transmission Control Protocol) ซึ่งทําหน้าที่สร้างการติดต่อและควบคุมการสื่อสารระหว่างโปรแกรมที่ทําหน้าที่ขอใช้บริการและโปรแกรมที่ทําหน้าที่ให้บริการ IP (Internet Protocol) ซึ่งทําหน้าที่ในการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง
โพรโตคอลที่มีผู้ใช้มากที่สุด คือ  โพรโตคอล HTTP (Hyper Text Transfer Protocol) ที่ใช้ในการส่งเอกสารเรียกว่า HTML ที่ใช้ในระบบ WWW (World Wide Web)
โพรโตคอล FTP (File Transfer Protocol) ซึ่งใช้ในการโอนถ่ายแฟ้มข้อมูล
 

บที่ 6 เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น


ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

            การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้ สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม
            การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบควมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดการระบบสือสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่ายเพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในรูป เป็นตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มเชื่อมโยงเป็นระบบ
ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มอุปกรณ์รอบข้างเชื่อมโยงเป็นระบบ
การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายด้วย wireless LAN
เครือข่ายไร้สาย (Wireless Network ) ของ สำนักวิทยบริการ

USB                                       
ใช้ติดตั้ง กับพอร์ต USB ทำงานในลักษณะเดียวกับ NIC-Card (Lan Card) แต่ส่งสัญญาณผ่านเสาอากาศที่ติดตั้งมาด้วย
แทนการส่งสัญญาณผ่านสายทองแดง


PCI Card                                 
ใช้ติดตั้ง ลงบน PCI-Slot บนเครื่อง PC ลักษณะเดียวกับ NIC-Card (Lan Card) แต่ส่งสัญญาณผ่านเสาอากาศที่ติดตั้งมาด้วย
แทนการส่งสัญญาณผ่านสายทองแดง